หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Leave a comment

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]

เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษา

ประวัติศาสตร์

Leave a comment

ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548

ภูมิศาสตร์ + สุขภาพ + อาหาร

Leave a comment

ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือผชิดประเทศพม่าและประเทศลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 77 จังหวัด[ก]

ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[6] และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[1] กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[7][8][9][10] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[11] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[12] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 260,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 33 ของโลก

ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[13] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นยุคสมัยแรกของคนไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก แต่ก็ร่วงโรยลงช่วงหนึ่ง อันเนื่องมาจากการขยายอำนาจของพม่านับแต่ พ.ศ. 2054 ก่อนจะกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้ง ก่อนเสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร ได้นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงต้นกรุง ประเทศต้องเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติสยามเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา และต้องผ่านสมัยรัฐบาลทหารมานานหลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

การกีฬา + สุขภาพ + อาหาร

Leave a comment

กรดอะมิโน

 

ร่างกายต้องการกรดอะมิโนเพื่อสร้างโปรตีนขึ้นใหม่และเพื่อแทนที่โปรตีนที่เสื่อมสภาพซึ่งจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ในร่างกายของสัตว์ ความต้องการกรดอะมิโนชนิดใดๆจะขึ้นอยู่กับว่ากรดอะมิโนชนิดนั้นๆเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น (ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้) หรือกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้จากสารประกอบไนโตรเจน) การบริโภคอาหารที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสัตว์

 วิตามิน

วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในบริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้ให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด

วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ

วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น B1, B2, B3, B5, B6, B12, H, M, C เป็นต้น วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น A, D, E, K เป็นต้นครับ

กรดไขมัน

ในทางเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวเคมี, กรดไขมัน เป็น คาร์บอกซิลิก แอซิด (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาว มีทั้งอิ่มตัว (saturated) และไม่อิ่มตัว กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิ่มโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม

ในอุตสาหกรรม กรดไขมันผลิตโดยการไฮโดรไลสิส (hydrolysis) เอสเตอร์ ลิงเกจส์ ในไขมัน หรือน้ำมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ด้วยการกำจัด กลีเซอรอล ออกไป ดู โอลีโอเคมิคอล (oleochemical)

 น้ำตาล

น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส หรือ แซคคาโรส ไดแซคคาไรด์ ที่มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว น้ำตาลเป็นสารเพิ่มความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมหวาน และเครื่องดื่ม ในทางการค้าน้ำตาลผลิตจาก อ้อย (sugar cane) , ต้นตาล (sugar palm) ,ต้นมะพร้าว (coconut palm) ,ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล (sugar maple) และ หัวบีท (sugar beet) ฯลฯ น้ำตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีแบบง่ายที่สุด หรือ โมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคส เป็นที่เก็บพลังงาน ที่จะต้องใช้ในกิจกรรม ทางชีววิทยา ของเซลล์ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกน้ำตาลจะลงท้ายด้วยคำว่า “-โอส” (-ose) เช่น กลูโคส

 แบคทีเรียในลำไส้

ในปัจจุบันเป็นที่รู้กันว่าระบบย่อยอาหารของมนุษย์ต้องอาศัยแบคทีเรียบางชนิดที่มีปฏิกิริยาต่ออาหารที่รับประทานเข้าไป บทบาทและความสำคัญของแบคทีเรียในลำไส้ยังคงเป็นที่ศึกษาค้นคว้ากันอยู่ ในอวัยวะย่อยอาหารมีแบคทีเรียทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษอาศัยอยู่ การบริโภคอาหารที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์น้อยแต่มีน้ำตาลมากจะเร่งให้แบคทีเรียที่เป็นโทษเจริญเติบโตได้มากขึ้น แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโปรไบโอติค แบคทีเรียที่สำคัญ ได้แก่ แบคทีเรียสกุลแลคโตบาซิลลัส เป็นต้น

โภชนาการกับการกีฬา

โภชนาการมีความสำคัญมากในการพัฒนาสมรรถภาพทางด้านกีฬา วิธีพัฒนาสมรรถภาพโดยการบริโภคที่ทำการโดยทั่วไปคือ บริโภคโปรตีนในปริมาณมากๆ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง เพื่อช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งประสิทธิภาพของวิธีดังกล่าวยังไม่แน่ชัด เพราะปริมาณของโปรตีนในอาหารทั่วไปที่บริโภคกันในทุกวันนี้ ก็มีมากกว่าปริมาณของโปรตีนในกล้ามเนื้อที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ในแต่ละวัน

ในการเร่งการสังเคราะห์กล้ามเนื้อ นักกีฬาจะมีเป้าหมายในการหาวิธีที่สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้เร็วที่สุด การทำให้กล้ามเนื้อเย็นตัวหรือร้อนขึ้นเพื่อลดอาการบวมและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การบริหารร่างกายอย่างเบาๆ การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมทั้งการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ เป็นหนทางที่ดีสำหรับการฟื้นฟูเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ และก่อนเล่นกีฬา การดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่มีสารละลายอิเล็กโทรไลต์ก็จะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของร่างกายได้

 โภชนาการกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

ตั้งแต่ยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารได้มีเทคโนโลยีต่างๆที่ช่วยให้เก็บอาหารให้คงความสดได้นานขึ้น และแปรรูปอาหารให้มีสภาพเปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ การแช่เย็นเป็นเทคโนโลยีขั้นต้นที่สามารถรักษาความสดได้ ขณะที่เทคโนโลยีอื่นๆจะช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานที่สุดโดยไม่เน่าเสีย

การศึกษา + แหล่งเรียนรู้

Leave a comment

http://../picture/banner/titleani.swf

ความหมายของแหล่งเรียนรู้

          แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

 
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้

          1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
          2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
          4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
          5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์

 
ประเภทของแหล่งเรียนรู้

          แหล่งเรียนรู้ จำแนกตามลักษณะที่ตั้งได้ ดังนี้

          1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
          2. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

 
วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

          1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ วิทยาการ และสร้างเสริมประสบการณ์ ที่กว้างขวางหลากหลาย
          2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3. เพื่อจัดระบบและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ และแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
          4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

การเกษตร + อาชีพ + ภูมิปัญญา

Leave a comment

1. ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม    

   

การทำนาหว่านน้ำตม

     การทำนาในประเทศไทยนั้นมี 2 วิธีใหญ่ๆ คือนาดำกับนาหว่าน นาหว่านยังสามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น หว่านสำรวย หรือหว่านแห้ง หว่านน้ำตม หรือการหว่านข้าวงอก การหว่านน้ำตมหรือการหว่านข้าวงอกของชาวปราจีนบุรีเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากจังหวัดอื่นๆ ที่เรียกว่าการหว่านน้ำตมเพราะตอนไถคราด น้ำจะขุ่นเป็นตม แต่เมื่อทิ้งไว้ น้ำก็จะใส การทำนาหว่านน้ำตมของชาวปราจีนบุรีต้องอาศัยน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียวจึงต้องรอให้ฝนตก ให้น้ำขังในนาก่อน จึงทำการไถและทำเทือก ชาวนาจะหว่านข้าวงอกทันทีเมื่อทำเทือกเสร็จ แล้วทิ้งให้ตกตะกอน เมล็ดข้าวซึ่งหนักกว่าตะกอนจะตกถึงผิวดินก่อน ส่วนตะกอนก็จะตกลงไปทับเมล็ดข้าวอีกที่หนึ่ง ทำให้น้ำไม่สามารถพัดพาเมล็ดข้าวงอกลอยไปที่อื่นได้ ข้าวที่หว่านน้ำตมนั้นจะต้องแช่น้ำ 1 คืน รุ่งเช้าต้องนำขึ้นจากน้ำ ให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำไปใส่ในกระบุงที่กรุด้วยใบตอง ที่กรุด้วยใบตองเพราะป้องกันไม่ให้รากข้าวชอนไชเข้าไปในกระบุง หลังจากนั้นจึงปิดกระบุงด้วยใบตอง รดน้ำเช้าเย็น ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 คืน ให้ข้าวงอก แล้วจึงนำข้าวงอกไปหว่านในน้ำตมการหว่านนาน้ำตมวิธีนี้เป็นรูปแบบเฉพาะถิ่นในเขตพื้นที่นาที่เป็นดินเปรี้ยวเท่านั้น โดยเฉพาะอำเภอบ้านสร้าง อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอศรีมโหสถ และอำเภอศรีมหาโพธิบางส่วน เพราะถ้าดินไม่เปรี้ยว ถึงแม้
จะปล่อยให้ตกตะกอนน้ำก็ยังคงขุ่นอยู่ ข้าวก็จะเน่า แต่สำหรับในพื้นที่นาดินเปรี้ยวเมื่อปล่อยให้ตกตะกอนเพียง
คืนเดียว น้ำก็จะใสแสงแดดสามารถส่องลงไปถึงพื้นดินได้ แม้ในระดับความลึกถึง 50 ซม. ข้าวก็สามารถงอกได้ 
ข้าวนาน้ำตมให้ผลผลิตมากกว่านาหว่านธรรมดา แต่ก็น้อยกว่านาดำ
   

ผักกระเฉดชะลูดน้ำ

มีปลูกตลอดปี ในพื้นที่ 50 ไร่ ที่หมู่ที่ 10,15 ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี เริ่มปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นผักกระเฉดที่มีลักษณะปล้องยาว ชะลูด ไม่มีนม (ปุยขาวที่หุ้มปล้องผักกระเฉด) กรอบ สามารถใช้รับประทานสดๆ แกล้มกับอาหารรสจัด หรือใช้จิ้มน้ำพริก และยังสามารถนำมายำ ผัด หรือ แกงส้มได้อร่อยเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย การปลูกผักกระเฉดชะลูดน้ำนี้ เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน เนื่องจากพื้นที่ ดังกล่าวเป็นที่ลุ่ม ในฤดูฝน น้ำจะหลากและท่วมเป็นประจำทุกปี เกษตรกรสังเกตเห็นว่าน้ำที่หลากมาท่วมผักกระเฉดจนมิดยอด ผักกระเฉดจะงอกหนีน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ยอดที่เจริญขึ้นมาใหม่เป็นยอดอ่อนที่ยาว ไม่อวบ นิ่ม และไม่มีนม จึงเป็นยอดอ่อนที่สะอาด น่ารับประทาน เกษตรกรจึงใช้วิธีนี้มาทำผักกระเฉดชะลูดน้ำ โดยตัดยอดจากแปลงใน
ทุ่งนา มาผูกกับหลักให้จมน้ำจนมิดยอด โดยอาศัยแควหนุมานที่มีน้ำใส ไหลตลอดปีเป็นสถานที่ดำเนินการ
   

เครื่องตำข้าวซ้อมมือ

             เครื่องตำข้าวซ้อมมือ และข้าวกล้อง เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านอำเภอบ้านสร้าง คือ นายฉอ้อน 
ทรงเดช ในปีพ.ศ. 2530 เขาได้คิดค้นเอารถไถนาเก่าๆ มาประกอบเป็นกระเดื่องและใช้ล้อขึ้นเหยียบท้ายคันสาก
แทนคนเหยียบ ใช้ยางรถยนต์หุ้มขอบตัวครกไม้ไม่ให้ข้าวหกกระเด็นออก ต่อมามีการดัดแปลงเอาเครื่องกระเทาะข้าวเปลือกมาประกอบระหว่างกลางครกกับเครื่องเพื่อให้สายพานชุดสีในเครื่องเดียวกัน นายฉอ้อน ทรงเดช ได้มีโอกาสตำข้าวซ้อมมือถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จมาทอดพระเนตรโครงการพัฒนาพื้นที่
ส่วนพระองค์ที่อำเภอบ้านสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2541 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในกระแสพระราชดำรัส ความตอนหนึ่ง
ว่า “…ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวกล้องนี่เรากินทุกวันเพราะว่ามีประโยชน์ ร่างกายแข็งแรงดี ข้าวขาวนี่เอาของดีออกไป
หมด ข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือกินดี คนบอกว่าเป็นข้าวของคนจน เรานี่แหละคนจน…” ทำให้ประชาชนทั่วไป
หันมานิยมบริโภคข้าวกล้องเป็นจำนวนมาก นายฉอ้อน ทรงเดชจึงประกอบอาชีพตำข้าวซ้อมมือและข้าวกล้อง
ต่อมาจนทุกวันนี้ด้วยเครื่องมือที่เขาประดิษฐ์ขึ้น โดยส่งข้าวไปจำหน่ายที่ร้านค้าโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนพระองค์ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง 
 
   

เครื่องฝัดข้าว

 
เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่นายฉอ้อน ทรงเดช คิดประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยใช้เพลาท่อเก่าๆ ทำเป็นแกนส่งออกให้ห่างตัวเครื่อง แล้วต่อพัดลมเป่าแกลบให้ฝัดข้าวได้ตามต้องการ ทำให้งานตำข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

วิทยาศาสตร์ + เทคโนโลยี

Leave a comment

เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา [1] หรือ เทคนิควิทยา [2] มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น [2]

เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม

Jamila – Lovin’ U

1 Comment

http://www.youtube.com/watch?v=3Z2HOSj8cNE